งานบริการวิชาการและวิจัย

Academic Service & Research


ศูนย์ส่งเสริมและสนับสนุนโครงการพระราชดำริ

ประวัติ

ได้ดำเนินการสนองพระราชดำริด้านการอนุรักษ์โดยเริ่มต้นจากสาเหตุที่ห้วยโจ้ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญของชุมชนแต่เดิมเคยมีน้ำไหลตลอดปีตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2520 เริ่มเกิดภาวะแห้งแล้งโดยเฉพาะหน้าแล้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงได้เสด็จมายังสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ ในวันที่ 2 มีนาคม 2521 มีพระราชกระแสรับสั่งให้สถาบันฯ หาลู่ทางเพื่ออนุรักษ์และพัฒนาห้วยโจ้เพื่อเป็นแหล่งน้ำสำหรับการเพาะปลูกในฤดูแล้งให้แก่ราษฎร วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2522 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้เสด็จพระราชดำเนินไปที่ห้วยโจ้อีกครั้งและได้มีพระราชกระแสรับสั่งให้กรมชลประทานพิจารณาสร้างอ่างเก็บน้ำขึ้นในบริเวณต้นน้ำและวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2538 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินจากพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศมาทอดพระเนตรโครงการพระราชดำริบ้านโปงในบริเวณห้วยโจ้และบริเวณบ่อน้ำวัดแท่นผาหลวงได้มีพระราชกระแสรับสั่งให้สถาบันฯ โดยคณาจารย์และนักศึกษาช่วยดูแลรักษาป่าบ้านโปงนอกจากนี้ยังช่วยแนะนำอาชีพแก่ราษฎรและให้ร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะป่าไม้ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำที่ดีที่สุด

           มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้สนองพระราชดำริโดยจัดพื้นที่บางส่วนของโครงการอนุรักษ์ ศึกษาและพัฒนาป่าบ้านโปง เพื่อเข้าร่วมโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 และได้ดำเนินงานโครงการฯ ใน 3 พื้นที่ ได้แก่มหาวิทยาลัยแม่โจ้อำเภอสันทรายจังหวัดเชียงใหม่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่เฉลิมพระเกียรติ อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่และมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร อำเภอละแม จังหวัดชุมพร โดยดำเนินงานในกิจกรรมต่าง ๆ คือ 

                   1. กิจกรรมปกปักพันธุกรรมพืช

                   2. กิจกรรมสำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืช

                   3. กิจกรรมปลูกรักษาพันธุกรรมพืช

                   4. กิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืช

                   5. กิจกรรมศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืช

                   6. กิจกรรมวางแผนและพัฒนาพันธุ์พืช

                   7. กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช

               8. กิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช โดยมีคณาจารย์ประมาณไม่ต่ำกว่า 50 คน และนักศึกษาจำนวนมากจากหลากหลายสาขาวิชาได้ร่วมกันดำเนินงานอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันและบัดนี้เป็นการดำเนินงานในระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2560-2564)

รูปกิจกรรม
โหลดเพิ่ม